นานาปศุสัตว์ (Animal News) วิชาการปศุสัตว์ (Livestock Article)

“ใบหม่อน” ลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร – ปศุศาสตร์ นิวส์

การใช้ใบหม่อน (mulberry leaves) เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร

หม่อน (MulBerry) ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn. ชื่อวงศ์ Moraceae จัดเป็นพืชกึ่งร้อน (Sub-Tropic) ลักษณะลำต้นเป็นพุ่มขนาดกลางอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง ลักษณะใบหม่อนทั่วไปปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นใบเดี่ยวออกสลับ ก้านยาว

พันธุ์ที่เหมาะสม

  • พันธุ์บุรีรัมย์ 60
  • พันธุ์นครราชสีมา 60
  • พันธุ์สกลนคร

ผลผลิต  1 ไร่ สามารถผลิตใบหม่อนพร้อมกิ่งเขียวได้จำนวน 5,000-7,500 กก. ตัด 5 รอบ/ปี ใช้เลี้ยงไก่ไข่ได้ 1,000 ตัว หรือสุกรขุน 100 ตัว

สรรพคุณ

ลดคลอเรสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเสื่อมของระบบประสาทและหลอดเลือดหัวใจ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระระดับเซลล์ ต้านการอักเสบ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ต้านแบคทีเรีย ไวรัส กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน เร่งการสร้างกล้ามเนื้อ

การปลูกใบหม่อน

  • ระยะปลูก 70 x 75 ซม. ควรให้น้ำอาทิตย์ละ 3 ครั้ง และให้ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก
  • ตัดครั้งแรกอายุ 4 เดือนหลังปลูก หลักจากนั้นสามารถตัดได้ทุก 60 วัน
  • การทำใบหม่อนหมัก สับใบหม่อนพร้อมกิ่งเขียวให้มีขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว (น้อยกว่า 5 ซม.) นำใบหม่อนสับหมักร่วมกับรำละเอียด อัตราส่วน 100 : 5 บรรจุในถังหมักปิดผาให้สนิท หมักไว้ 21 วัน
  • นำไปผสมอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร ตามสูตร
ไก่ไข่
สุกร

ลดต้นทุนเพิ่มกำไร

  • ไก่ไข่ ต้นทุนการผลิตไข่ลดลง 0.30 บาท/ฟอง
  • เป็ดไข่ ต้นทุนการผลิตไข่ลดลง 0.12 บาท/ฟอง
  • สุกร ต้นทุนการผลิตลดลง 600 บาท/ตัว

ข้อดีของการใช้ใบหม่อน

  • สัตว์ปีก มีอัตราการเจริญเติบโตและสุขภาพดี อัตราการตายต่ำ ผลผลิตและคุณภาพไข่สูง สีไข่แดงเข้มขึ้น มีเบตา-แครอทีน และวิตามินอีในไข่แดงสูง
  • สุกร มีสุขภาพแข็งแรง โตเร็ว ระบบภูมิคุ้มกันดี และเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูง

ขอขอบคุณ / กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์  สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

เป็ด
ลูกหม่อน

ขอขอบคุณ : คุยโขมงข่าวเช้า

Pasusart News
No.1 Livestock Online Magazine in Thailand
https://pasusart.com