เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 นายสุธาศิน อมฤก นายกสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย และประธานกลุ่มผู้ค้าไข่ไทย นำสมาชิกสมาคมฯ และสมาชิกกลุ่มฯ ร่วมประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการขอใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ (การเคลื่อนย้ายไข่เพื่อการบริโภค) ตามที่ระเบียบของกรมปศุสัตว์กำหนดไว้ ซึ่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558 โดยมีนายสัตวแพทย์วัชรพงษ์ สุดดี นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ และนายกฤติพิพัฒน์ รัตนนาวินกุล หัวหน้ากลุ่มสัตว์ปีก เข้าร่วมประชุมและรับฟังปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ในที่ประชุมมีการสรุปรายละเอียดสำคัญดังนี้
1. ใบ ร.10/1 (ใบอนุญาตค้าซาก-ไข่เพื่อการบริโภค)
1.1 ผู้ประกอบกิจการซื้อมาขายไปที่ทำการค้าไข่ ตั้งแต่ 1 ฟองขึ้นไป ต้องทำใบ ร.10/1 คลิก!!! (แบบคำขอรับใบอนุญาตทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์)
1.2 กรณี กิจการผู้ค้ามีหลายสาขา ต้องขอใบอนุญาตทุกสาขา เช่น มี 5 สาขา ต้องขอใบอนุญาต 5 ใบ ตามที่ตั้งของแต่ละสาขา โดยดำเนินการขอได้ที่ปศุสัตว์จังหวัดแต่ละพื้นที่ๆ สาขาตั้งอยู่ โดยใช้หลักฐานดังนี้
1.2.1 ใช้บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้า แจ้งที่ตั้งของสาขานั้นๆ (ไม่จำเป็นต้องขอเอกสารอื่นๆ ประกอบคำขอ)
1.2.2 หากปศุสัตว์พื้นที่ใด หรือจังหวัดใด ไม่รับทำ ถือว่ามีความผิด
1.3 กรณีรถเร่ขายไข่ ปัจจุบันยังไม่มีระเบียบปฏิบัติ อยู่ในระหว่างร่างระเบียบในการขอรับใบอนุญาตทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ (ใบ ร.10) โดยจะใช้ทะเบียนรถยนต์คันนั้นๆ ในการเป็นสถานที่ประกอบการ (จะแจ้งภายหลัง)
2. การขึ้นทะเบียนสถานที่รวบรวมไข่ ปัจจุบันยังไม่มีกฏระเบียบบังคับใช้ ซึ่งอนาคตอันใกล้จะมีกฏหมายเข้ามาบังคับใช้ โดยกิจการที่ทำการค้า ตั้งแต่ 5,000 ฟอง/วัน ขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่รวบรวมไข่ (ไม่ต้องตรวจสถานประกอบการ) คลิก…คู่มือการขึ้นทะเบียนสถานที่รวบรวมไข่
3. การทำใบเคลื่อนย้าย ร.4 บังคับให้ทำเฉพาะข้ามจังหวัดเท่านั้น ส่วนการขนย้าย ระหว่างอำเภอ (ภายใน จังหวัด) ยังไม่มีการบังคับใช้
4. การขอใบอนุญาตนำหรือเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร ระบบการเคลื่อนย้ายสัตว์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบพิเศษ (e – Privilege Permit) หรือ EPP กิจการที่สามารถทำใบเคลื่อนย้ายในระบบ EPP ได้ จะต้องได้รับมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
– GMP ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรฯ
– ไข่อนามัย
– ปศุสัตว์ OK
โดยทุกจังหวัด สามารถดำเนินการขออนุญาตทำใบเคลื่อนย้ายระบบ EPP ได้ หากได้รับมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่กล่าวมาข้างต้น
5. ที่ประชุมมอบหมายให้คณะกรรมการของสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย และกรรมการกลุ่มผู้ค้าไข่ไทย รวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการขอรับการบริการจากปศุสัตว์ของแต่ละพื้นที่ หากพบปัญหาใดๆ ก็ตาม สามารถแจ้งปัญหาทั้งหมดได้ที่ กรมปศุสัตว์ พญาไท (call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0) หรือหากมีปัญหาเร่งด่วน นายกสมาคมฯ และประธานกลุ่มฯ โดยนายสุธาศิน อมฤก จะหารือร่วมกับนายสัตวแพทย์วัชรพงษ์ สุดดี เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
ดาวน์โหลดเอกสาร / ข้อมูลเพิ่มเติม : การเคลื่อนย้ายไข่ประเภทไข่เพื่อการบริโภค ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีพิเศษ ไข่ Online คลิก…ที่นี่
ขั้นตอนการใช้แอปพลิเคชัน DLD 4.0