รายงานข้อมูลสภาวะตลาด สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 14/2566) วันพระที่ 5 เมษายน 2566
สภาวะการค้าสุกรขุนทุกพื้นที่ราคายืนแข็ง แนวโน้มยืนแข็งต่อเนื่อง ปัญหาเดิมๆ ที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้วงการสุกรไทยอยู่ได้ประกอบด้วย
1) ขจัดปัญหาซัพพลายส่วนเกินจากหมูกล่องที่ลักลอบนำเข้า
2) ผลักดันการกำกับดูแลภายใต้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการไม่ให้เหลื่อมล้ำตลอดห่วงโซ่
3) จี้ภาครัฐเรื่องราคาที่สูงเกินจริงของวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศ ทั้งกลุ่มพลังงาน และโปรตีน
นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ชื่อดังแห่งหนึ่ง มองประเด็นต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศ (ข้อ 3) ที่อยู่ในวิสัยที่แก้ได้ จะทำให้ต้นทุนการเลื้ยงสุกรกลุ่มที่ซื้อลูกสุกรพันธุ์เข้าขุน จะลดต้นทุนลงได้ทันที 30% อยู่ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรมสุกรอาเซียน จะลดโอกาสการทำกำไรจากส่วนต่างของหมูกล่องที่ลักลอบนำเข้าได้เช่นกัน
ภาคตะวันตก 84
ภาคตะวันออก 86-88
ภาคอีสาน 88
ภาคเหนือ 88
ภาคใต้ 86
ลูกสุกรขุน 16 กิโลกรัม วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 อยู่ที่ 2,200 บาท บวก/ลบ 84
“ข้อมูลของทางสมาคมฯ นี้ ประกาศเพื่อไว้ดูความเคลื่อนไหวราคาราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มสุกร แต่การซื้อขายจริงขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย”
ขอบคุณ : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
ด้าน กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย นครปฐม แจ้งประกาศราคาแนะนำสุกรขุน พระที่ 5 เมษายน 2566 อยู่ที่ 75 บาทต่อกิโลกรัม (ปรับลงจากพระที่แล้ว อยู่ที่ 78 บาทต่อกิโลกรัม)
สถานการณ์ราคาสุกรประเทศจีน และอาเชียน (5 เมษายน 2566)
หมูจีน ราคาลง ราคาหมูลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว สาเหตุมาจาก ณ ตอนนี้ ปริมาณหมูในตลาดมีจำนวนมากกว่าความต้องการบริโภค อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจีนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การจับจ่ายของประชาชนจึงยังไม่มากนัก รวมไปถึงสภาวะอุณหภูมิที่สูงและชื้นก่อนเข้าฤดูร้อนจีนยังส่งผลต่อการบริโภคเนื้อหมูที่ลดลงอีกด้วย
ภาพรวมของราคาหมูภาคเหนือดูค่อนข้างสูงกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากภาคเหนือฝนตกเยอะขึ้น ส่งผลต่อการจัดซื้อที่ต้องการหมูมากขึ้นและยากขึ้นในข่วงก่อนเทศกาลเชงเม้ง แนวโน้มการจับขายของผู้เลี้ยงหมูหลังบ้านยังมีไม่มาก สวนทางกับกลุ่มบริษัทผู้เลี้ยงหมูที่ลดปริมาณจับขายเพื่อบังคับให้ราคาเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าราคาหมูจะเพิ่มขึ้นทันทีในวันพรุ่งนี้ (วันเชงเม้ง) ทว่าราคาที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและค่อนข้างคงที่
ส่วนราคาหมูภาคใต้มีทิศทางเพิ่มตามราคาหมูภาคเหนือ จังหวะการจับขายของกลุ่มบริษัทผู้เลี้ยงหมูที่อยู่ภาคใต้ถือว่าปกติ ด้านการบริโภคได้รับผลเชิงบวกจากเทศกาลเชงเม้ง ทำให้ความต้องการและปริมาณเข้าเชือดเพิ่มขึ้น ทว่าอุปสงค์ยังน้อยกว่าอุปทาน จึงทำให้ตลาดอาจจะเพิ่มราคาได้อย่างมีข้อจำกัด โดยสรุปราคาหมูในช่วงนี้มีทิศทางจะขึ้นเล็กน้อยในอัตราคงที่
ลูกหมูน้ำหนัก 15 กก. ตัวละ 580-630 RMB (2,888-3,137 THB)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (1 หยวน = 4.98 บาท)
หมูเวียดนาม ราคาทรงตัว ลงบางพื้นที่ ราคาปรับตามสถานการณ์ ของกำลังบริโภคที่ยังไม่มาก เศรษฐกิจเวียดนามยังไม่ดี นักท่องเที่ยวยังไม่มาตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมาย ยังมีโรคระบาดในบางพื้นที่ บริเวณชายแดนจีน- เวียดนาม ไม่มีการส่งออกหมู ปิดเทอม
ราคาขายลูกหมู นน. 7 กก. ราคา 1,500-1,700 บาทต่อตัว
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (1 บาท = 687 ดอง)
หมูกัมพูชา ราคาขึ้น : ราคาสุกรขยับขึ้น (200riel) 1-2 บาทจากพระที่แล้ว (ใกล้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ กำลังการบริโภคสูงขึ้น) ยังพบการนำเข้าหมูจากนอกพื้นที่ เข้ามาปริมาณมาก
อัตราแลกเปลี่ยนเงิน (1 บาท = 119.25 riel)
หมูเมียนมาร์ ราคาทรงตัว ราคาภาพรวมของปศุสัตว์ ราคาหมูทรงตัว ส่วนราค่ไก่เนื้อและไข่ไก่ก็ทรงตัว เนื่องจากสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ,เศรษฐกิจและค่าเงินจ้าดยังอ่อน และบางพื้นที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนแม่สอด ส่งผลให้การนำเข้าสินค้า และวัตตุดิบได้รับผลกระทบ
อัตราแลกเปลี่ยน (1 บาท = 84 ks)
หมูลาว ราคาขึ้น : ราคาสุกรขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ราคาสุกรภาคเหนือปรับขึ้น ราคาภาคกลางและใต้ไปรับลง การลักลอบขนหมูเถื่อนตามตะเข็บชายแดนลาว-กัมพูชา ยังมีต่อเนื่อง ราคาไก่พื้นเมืองยืน จากสัปดาห์ที่แล้ว ราคาไข่ไก่ยืน จากสัปดาห์ที่แล้ว รัฐยังไม่อนุญาตให้นำเข้าสุกรจากไทย และประเทศเพื่อนบ้าน
อัตราแลกเปลี่ยน (1 บาท = 510.42 กีบ)
หมูฟิลิปปินส์ ราคาทรงตัว บางพื้นที่ขึ้น 1. หมูทิศทางปรับขึ้นจากปริมาณหมูมีน้อย 2. ไก่ราคาปรับลงจากที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ 3. ไข่ ปรับลง ช่วงนี้เป็นช่วงหยุดยาววันอีสเทอร์ โรงเรียนและราชการปิด
อัตราแลกเปลี่ยน (1 เปโซ = 0.62 บาท)
สถานการณ์การส่งออกหมูไทย : ไม่มี
ขอบคุณ : ทีม Vet Products Group | Inter