ข่าว (News)

ควบคุมภาวะโลหิตจาง โรคบิด ใน “ลูกสุกร” ด้วยนวัตกรรม Forceris – ปศุศาสตร์ นิวส์

ตลอดระยะเวลาของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรที่ผ่านมา การป้องกัน ภาวะโลหิตจาง และ โรคบิด ที่ทำกันอยู่โดยทั่วไปคือการฉีดธาตุเหล็กและการป้อนยาโทลทราซูริล (Toltrazuril) ให้กับลูกสุกรภายในอายุ 1 สัปดาห์แรก โดยวัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค แต่เป็นการทำเพื่อป้องกันโรค ซึ่งฟาร์มส่วนใหญ่จะมีการฉีดธาตุเหล็กให้กับลูกสุกรที่อายุ 2-4 วัน และป้อนยากันบิดในช่วงเวลาเดียวกันหรือหลังจากนั้นอีกประมาณ 2 วัน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ที่นำทั้งธาตุเหล็กและยากันบิดมารวมเข้าไว้ด้วยกันและใช้โดยการฉีดให้กับลูกสุกรอายุ 1-3 วัน เพียงแค่เข็มเดียวก็สามารถให้การป้องกันครอบคลุมได้ทั้งภาวะโลหิตจางและโรคบิด

นวัตกรรมใหม่นี้ได้ผลดีแค่ไหน ?

การควบคุมภาวะโลหิตจาง

ทดลองเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้ยาโทลทราซูริลและธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอนแบบฉีด (Forceris) กับกลุ่มที่ใช้ธาตุเหล็กไอรอนเด็กซ์แตรน ผลการทดลองไม่พบลูกสุกรที่มีภาวะโลหิตจาง (ระดับฮีโมโกลบิน <9 g/dL) ในกลุ่มที่ใช้ Forceris (ภาพที่ 1)

จากผลการทดลองข้างต้น การใช้ยาโทลทราซูริลและธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอนแบบฉีด (Forceris) ให้ผลในการควบคุมภาวะโลหิตจางได้ดีกว่าการใช้ธาตุเหล็กไอรอนเด็กซ์แตรน เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของชีวปริมาณออกฤทธิ์ (bioavailability) ของธาตุเหล็กในกระแสเลือด พบว่ากลุ่มที่ฉีดธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอนมีชีวปริมาณออกฤทธิ์ของธาตุเหล็กในกระแสเลือดที่สูงกว่ากลุ่มที่ฉีดธาตุเหล็กไอรอนเด็กซ์แตรนถึง 4.6 เท่า (ภาพที่ 2)

การควบคุมโรคบิด
ทดลองเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้ยาโทลทราซูริลและธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอนแบบฉีด (Forceris) กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้มีการใช้ยากันบิด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่มีการใช้ Forceris มีจำนวนสุกรที่ขับโอโอซิสต์ (Oocyst) หรือไข่ของเชื้อบิดออกมากับอุจจาระและสุกรที่แสดงอาการท้องเสียน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ภาพที่ 3)

เปรียบเทียบนวัตกรรมแบบใหม่กับแบบดั้งเดิม

มีหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม ในส่วนนี้จะเน้นในเรื่องของการควบคุมโรคบิดเป็นหลัก เนื่องจากนวัตกรรมแบบใหม่นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของวิธีการให้ยา จากการป้อนปากเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเป็นการรวมกันของยาโทลทราซูริลกับและธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอนเอาไว้ในขวดเดียวกัน

เภสัชจลนศาสตร์ (Phamacokinetics)
กลุ่มทดลองที่ใช้ยาโทลทราซูริลและธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอนแบบฉีด (Forceris) มีความเข้มข้นของโทลทราซูริลและโทลทราซูริลซัลโฟนที่สูงกว่า (ทั้งคู่สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิดได้) เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่มีการใช้ยาโทลทราซูริลแบบป้อนปาก (ภาพที่ 4 และ 5)

นวัตกรรมใหม่ที่มีการใช้ไปแล้วทั่วโลก

ในปี 2019 Forceris ได้รับการจดทะเบียนครั้งแรกในยุโรป ต่อมาในปี 2020 มีการจดทะเบียนเพิ่มเติมในบางประเทศของเอเชีย ละตินอเมริกา และแคนาดา ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมของ Forceris ได้รับการยืนยันมาแล้วจากการทดลองใช้จริงในลูกสุกรมากกว่า 20 ล้านตัวทั่วโลก

การรวมกันมาในรูปแบบฉีดของยาโทลทราซูริลและธาตุเหล็กเกล็ปโตเฟอรอน เป็นทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะโลหิตจางและโรคบิดในลูกสุกร และสามารถทดแทนวิธีการแบบเดิมได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้ผลิตสุกรสามารถควบคุมปัญหาเหล่านี้ได้โดยที่ไม่ต้องรบกวนลูกสุกรให้เกิดความเครียดหลายครั้ง และช่วยลดภาระงานในฟาร์มลงได้

Pasusart News
No.1 Livestock Online Magazine in Thailand
https://pasusart.com