ทุกวันนี้เชื่อว่าชาวสัตวบาล/สัตวศาสตร์ หลายๆ ท่าน ยังคงติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดตั้ง “สภาการสัตวบาล” และ “พรบ.วิชาชีพการสัตวบาล” เป็นอย่างมากว่าเป็นอย่างไร เรื่องราวถึงไหนแล้ว ซึ่งต้องบอกว่าคืบหน้าไปมาก ล่าสุดทางสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เปิดเผยรายละเอียด ดังนี้
พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ.2565 ประกาศใช้แล้ว เมื่อ 19 สิงหาคม 2565
ต้องดำเนินการให้ได้มา
มาตรา
15 (1) กรรมการโดยตำแหน่ง – อธิบดีกรมปศุสัตว์ และ นายกสมาคมสัตวบาล
15 (2) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนกระทรวง – 5 กระทรวง
15 (3) กรรมการซึ่งเป็น คณบดี สถาบันอุดมศึกษา (เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน)
15 (4) กรรมการซึ่งเป็นผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร (เลือกกันเอง ให้เหลือ 2 คน)
15 (5) กรรมการซึ่ง เป็น นายกสมาคม ที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์ (เลือกกันเอง ให้เหลือ 2 คน)
15 (6) กรรมการจากการเลือกตั้งจากสมาชิก 15 คน
เนื่องจากยังไม่มีกรรมการชุดนี้ → จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการ ตามบทเฉพาะกาล
กรรมการจากบทเฉพาะกาล ประกอบด้วย 8 ท่าน
1. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นนายกสภาสัตวบาล
2. มาตรา 15 (1) อธิบตีกรมปศุสัตว์ และ นายกสมาคมสัตวบาล
3. มาตรา 15 (2) ผู้แทนจาก 5 กระทรวง ได้แก่
– กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
– กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
– กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– กระทรวงศึกษาธิการ
– กระทรวงสาธารณสุข
โดยให้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นเลขานุการ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ คือ 1. ผอ.สอส. 2. ผอ.กสส.
ผู้ช่วยเลขานุการ แต่งตั้งคณะทำงานผู้ช่วยเลขานุการ ประกอบด้วยตัวแทนจาก สอส. กสส. กพก. สพพ.
กรรมการ 8 ท่าน จะทำหน้าที่
1. ดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการ ตามมาตรา 15
2. ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกและการพ้นจากสมาชิกภาพ
3. การได้มาซึ่งกรรมการและผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ
4. ปฏิบัติการอื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 มีการประชุมคณะกรรมการ 8 ท่าน
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในฐานะนายกสภาการสัตวบาล) มอบ ท่านอภัย สุทธิสังข์ → มอบนายกสมาคมสัตวบาล เป็นประธาน
อธิบดีกรมปศุสัตว์ (ในฐานะเลขานุการ) มอบ นายเศกสรรค์ สวนกูล มอบ → ผชช.พืชอาหารสัตว์ เป็นเลขาการประชุม
มติที่ประชุม
1. สถานที่ตั้ง สภาการสัตวบาล ให้ใช้ห้อง 205 อาคารสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ โดยให้อธิบดีกรมปศุสัตว์ (ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการ 8 ท่าน ทำหนังสือขอใช้สถานที่ต่อ อธิบดีกรมปศุสัตว์เจ้าของหน่วยงาน
ทั้งนี้ เมื่อมีสถานที่ตั้งแน่นอนแล้ว จะสามารถนำที่อยู่ไปใช้ในการติดต่อหน่วยงานต่างๆ ได้แก่
– การเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินค่าสมัครสมาชิก มาเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานของสภาการสัตวบาล
– ติดต่อสำนักงานประกันสังคม เพื่อการจัดการเกี่ยวกับการจ้างพนักงาน
– ดำเนินการเกี่ยวกับการรับสมัครสมาชิก และดำเนินงานเพื่อให้ได้กรรมการตามมาตรา 15
การดำเนินการข้อ 1 ผู้ช่วยเลขานุการ (ผอ.สอส ) ทำหนังสือเรียน เรื่องขออนุญาตใช้สถานที่
2. ในระยะเริ่มต้น ยังไม่มีงบประมาณดำเนินงาน สมาคมสัตวบาลจึงยินดีให้ยืมเงินจำนวน 300,000 บาท และให้ทยอยชำระคืน โดยไม่มีดอกเบี้ย
แต่เนื่องจากตามมาตรา 16 กำหนดนายกสภาการสัตวบาลเป็นผู้แทนสภาฯ ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ซึ่ง ปลัด กษ. เป็นนายกสภาการสัตวบาลโดยตำแหน่ง
การดำเนินการข้อ 2 ผู้ช่วยเลขานุการ (ผอ. กสส.) ทำหนังสือเรียน อธิบดีกรมปศุสัตว์ เพื่อโปรดลงนามในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ แจ้งไปยัง ปลัด กษ. เพื่อให้ปลัด กษ. ลงนามในหนังสือยืมเงินจากสมาคมสัตวบาล
3. กำหนดตรา โลโก้ สภาการสัตวบาล เพื่อใช้กับเอกสารของสภาการสัตวบาล เช่น หัวกระดาษ ฯลฯ
4. กำหนดรูปแบบบัตรสมาชิก กำหนดเรื่องการประชาสัมพันธ์
แผนการดำเนินงานต่อไป
1. ติดต่อธนาคารขอเปิดบัญชี เพื่อให้นำเงินจากการรับสมัครสมาชิกเข้าบัญชี
2. ประกาศรับสมัครสมาชิก (ประกาศประมาณ 3 เดือน)
3. ดำเนินการคัดเลือกกรรมการสภาการสัตวบาล ตามมาตรา 15
4. จัดประชุมใหญ่
5. หลังการประชุมใหญ่ คณะกรรมการตามบทเฉพาะกาลจะหมดวาระ
คาดการณ์ว่าจะจัดประชุมใหญ่ในเดือนสิงหาคม 2567