หลังกรมปศุสัตว์ทำพิธีปล่อยแถวเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษกว่า 100 นาย เข้าปฏิบัติงานตรวจค้นจับกุมการลักลอบนำเข้าสัตว์ เมื่อ 6 มีนาคม 2562 การจัดการระดับฟาร์มรายย่อย รัฐและเอกชนต้องช่วยกันสอดส่อง ตามแนวคิด Public-private Collaboratory ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE
การประชุมร่วมเพื่อเตรียมการเฝ้าระวังสำนักงานปศุสัตว์เขต 7 จัดประชุมแนวทางเตรียมความพร้อมการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค African Swine Fever (ASF) ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์เขต 7 วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 น. เพื่อแจ้งสถานการณ์ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และเตรียมความพร้อมรับมือโรค African Swine Fever รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการป้องกันโรค โดยมีการเชิญฝ่ายวิชาการหรือผู้แทนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 7 บริษัทละ 1-2 ท่าน เข้าร่วมประชุม เพื่อนำไปถ่ายทอดและวางแผนการป้องกันโรคให้กับฟาร์มสุกรที่ดูแลนั้น ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทุกฝ่ายช่วยกัน เป็น 1 ใน 6 แนวทางที่ OIE แนะนำ
สำหรับ 6 ข้อที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE ได้ชี้แนะแนวทางจัดการระดับประเทศไว้มีดังนี้
1. Public-private Collaboratory เป็นความร่วมมือกันของภาคประชาสังคม เสมือนการร่วมมือกันขององค์กรเอกชนระดับใหญ่ในอุตสาหกรรมกับกลุ่มผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดก่อน ซึ่งจะไปสร้างปัญหาให้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน
2. Awareness Campaigns การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างทั่วถึง ถึงที่มาของโรค ลักษณะของอาการ ตลอดจนแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังกับฟาร์มทุกระดับ แนวทางของเจ้าหน้าที่รัฐด่านกักกัน การตรวจคนเข้าเมือง การตรวจเข้มงวดกับการนำเข้ามาซึ่งสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรที่เป็นต้นเหตุการณ์ระบาดในหลายๆ ประเทศ
3. Capacity Building การสร้างขีดความสามารถกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ทุกบทบาท
4. Biosecurity ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่ต้องเพิ่มความเข้มงวดยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลของการไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค ลักษณะการติดเชื้อจะมาจากการสัมผัสโดยตรง การติดมาจากบุคลากรในฟาร์มนำมา อุปกรณ์ฟาร์ม ยานพาหนะเข้า-ออกฟาร์ม แม้แต่อาหารที่ให้กับสุกร หลักๆ คือ ต้องดำเนินตัดวงจรเสี่ยงทั้งหมดให้ได้ 100%
5. Incentives to Report จะมีทั้งการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมที่จะเกิดความเสียหาย และการชดเชยสำหรับฟาร์มที่ติดเชื้อจะต้องมีการทำลายสุกรทั้งฟาร์มนั้น จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงได้รับความเสียหายอย่างมาก ถ้าไม่มีการชดเชยในจำนวนที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการปิดบังการติดเชื้อ และการเร่งขายสุกรติดเชื้อ ยิ่งทำให้ปัญหาการระบาดกระจายตัวในวงกว้างมากขึ้น
6. National Strategy and Measure กลยุทธ์และมาตรการของชาติ ซึ่งการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคระบาดที่มีโอกาสเกิดกับสัตว์เศรษฐกิจของประเทศ ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งกรมปศุสัตว์มีกฎหมายบังคับใช้ได้แก่พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และมีการขอกรอบวงเงินตามมาตรการวาระแห่งชาติไว้แล้ว 1.822 ล้านบาท
การเข้าร่วมมือตรวจความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม ยิ่งด่วนเท่าไร ยิ่งลดความเสี่ยง เพราะถ้ามีการระบาดเพียง 1 ฟาร์มรายย่อย ผลคือ พังทั้งประเทศ ถึงแม้ฟาร์มนั้นจะเป็นเพียงฟาร์มหลังบ้านก็ตาม
โดย : เกษตรกรรายย่อย