ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวัวด้านสวัสดิภาพสัตว์มีหลายอย่าง “ความกลัวคน” ของวัวทำให้เกิดความเครียดและทำให้สุขภาพและผลผลิตในฟาร์มลดลง การจัดการที่แย่และการใกล้ชิดกับวัวที่กำจัด สถานการณ์นี้จะช่วยส่งเสริมการแสดงออกของความหวาดกลัวที่วัวมีต่อคน ทำให้การจัดการยากขึ้นและอันตรายเพิ่มขึ้น ความเครียดของวัวอาจลดคุณภาพของเนื้อ เช่น ค่า pH ความชุ่มน้ำ ความนุ่ม กลิ่นและรส ทำให้เนื้อมีสีเข็มและเหนียวเพิ่มขึ้น
รายงานผลการวิจัยพบว่าการสัมผัสที่อ่อนโยนกับลูกวัวในช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังคลอด ช่วยเพิ่มการตอบสนองของวัวต่อการปฏิสัมพันธ์ของคนกับวัวในฟาร์มและโรงฆ่าสัตว์และลดปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับความเครียด
ผลการวิจัยของ บี.ดี. วอยซิเนท และคณะฯ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ทดลองในวัวสายพันธุ์สังเคราะห์ (ลูกผสมระหว่างวัวซีบูกับวัวยุโรป) จำนวน 306 ตัว (วัวผู้ตอน 162 ตัว, วัวสาว 144 ตัว) รวม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์บราฟอร์ด (บราห์มัน/เฮียฟอร์ด) พันธุ์แบรงกัสแดง (บราห์มัน/แองกัสแดง) และพันธุ์ซิมบราห์ (บราห์มัน/ซิมเมนทอล) อายุ 7-11 เดือน บันทึกคะแนนอารมณ์โดยนำเข้าซองบังคับหนีบคอสังเกตพฤติกรรมใช้คนสังเกตให้คะแนนคนเดียว แบ่ง 4 กลุ่มทดลองตามคะแนนอารมณ์ (Temperament scores) โดยใช้ระบบของแกรนดิน (Grandin 1993)
กลุ่มที่ 1 : สงบ การเคลื่อนไหวเล็กน้อย
กลุ่มที่ 2 : ดิ้น ซองบังคับสัตว์สั่นสะเทือนเป็นครั้งคราว
กลุ่มที่ 3 : การเคลื่อนไหวรุนแรงต่อเนื่องและซองบังคับสัตว์สั่นสะเทือน
กลุ่มที่ 4 : บ้าคลั่ง อาละวาด บิดหรือดิ้นอย่างรุนแรง
หลังวัวหย่านมเลี้ยงปรับสภาพก่อนขุน 45 วัน ขุนนาน 120 วัน ศึกษาซากและประเมินเกรดซากโดย USDA grader พบว่า
1. คะแนนอารมณ์ไม่แตกต่างกันระหว่างสายพันธุ์
2. สายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างด้านความนุ่มของเนื้อ (tenderness)
3. เนื้อสีเข็ม (Dark cutting Beef) กลุ่มที่ 1 : 6.7% กลุ่มที่ 4 : 25%
4. ค่าแรงตัดเฉือน (WBS Shear fore) WBS > 3.9 kg กลุ่มที่ 1 – 3 = 13.7% กลุ่มที่ 4 = 40%
สรุปโดยรวม
1. อารมณ์หรือความตื่นเต้นของวัวมีผลกระทบอย่างสำคัญต่ออุบัติการณ์ของเนื้อสีเข็ม
2. วัวที่ตื่นเต้นมากขึ้นมีแนวโน้มเพิ่มความเข็มของสีเนื้อมากยิ่งขึ้น
3. อารมณ์ของวัวมีผลกระทบที่สำคัญต่อความนุ่มนวลของซากภายหลังฆ่า วัวที่เปรียวตื่นเต้นมากเนื้อยิ่งเหนียว
4. วัวที่ตื่นเต้นมากมีแนวโน้มที่จะซากที่มีค่าแรงเฉือน 3.9 กิโลกรัมหรือสูงกว่า (WBS > 3.9 กก. สถานประกอบการบริการอาหารไม่ยอมรับ)
5. ผลการวิจัยบ่งบอกว่าการเลือกวัวที่มีอารมณ์สงบมีผลต่อคุณภาพของเนื้อ
6. การคัดออกแม่วัวเปรียวหรือขี้ตื่น การคัดวัวนิสัยเชื่องเข้าขุน หรือการจัดการเลี้ยงดูให้วัวเชื่องเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมของวัว จะลดความเสี่ยงต่อความเครียดของวัว
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.sciencedirect.com
ขอขอบคุณ / ชยุต ดงปาลีธรรม์