“การเลี้ยงวัวเนื้อ” ส่วนมากจะมีกำไรก็ต่อเมื่อต้องขายวัวให้ได้ราคาสูงเท่านั้น บางราย เลี้ยงวัว ไม่ได้มีเป้าหมายหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เลี้ยงด้วยใจรัก บางรายมีใจชอบบางลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะทางเศรษฐกิจแท้จริง เช่น สี ความยาวของหู ความสูง ความสวยงาม มีกลยุทธ์อะไรบ้างเพื่อจะเลี้ยงวัวให้มีกำไรสม่ำเสมอ
1. ค่าอาหารวัวแพงหน้าแล้ง : หน้าฝนอาหารสมบูรณ์อาจลืมเก็บสำรองไว้หน้าแล้ง เช่น หญ้าแห้ง หญ้าหมัก
2. คลอดลูกผิดเวลา : ส่วนมากปล่อยผสมพันธุ์ออกลูกตลอดปี ควรวางแผนผสมให้เกิดช่วงปลายแล้งหรือต้นฝนอาหารอุดมสมบูรณ์ เกิดหน้าแล้งผอมทั้งแม่และลูกขายไม่ได้ราคา
3. เลี้ยงวัวไม่มีประสิทธิภาพ : กลยุทธ์การเลี้ยงวัวด้วยแปลงหญ้าคุณภาพ คือ การเพิ่มน้ำหนักของวัวที่ดีที่สุด ลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร ปัจจุบันลงทุนรั้วล้อมแปลงหญ้าเป็นเรื่องง่ายใช้รั้วไฟฟ้า
4. พันธุ์วัวไม่ตรงกับที่หวัง : เลือกพันธุ์วัวผิดไม่เหมาะกับสภาพฟาร์ม ไม่ตรงที่ตลาดต้องการ เคล็ดลับเลือกวัว “เลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมาก ซากดี” เช็คตามหัวข้อเลือกพันธุ์ที่ตอบโจทย์เรามากที่สุด
5. ทักษะการคัดวัว : ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่ดีต้องคัดทิ้ง บางลักษณะรักษาได้ควรเก็บไว้ การผสมไม่ติด ให้ลูกห่าง เจ็บป่วยเรื้อรัง แคระแกรน โตช้า วิเคราะห์รวมเป็นโปรแกรมคัดทิ้งวัว
6. ไม่เคยวิเคราะห์อาหารและใช้บริการนักโภชนาการด้านปศุสัตว์ : อาหารสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ควรขอคำปรึกษานักวิชาการด้านอาหารสัตว์บ้าง
7. มีฝูงเล็ก ๆ จำนวนมาก : อาจเป็นกลยุทธ์จัดโปรแกรมให้อาหารที่ดี แต่ต้องเพิ่มแรงงานและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควรวางแผนเลี้ยงง่าย ๆ ลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ
8. มีหลายกิจกรรมที่ไม่มีกำไร : การทำธุรกิจหลายอย่างที่ซับซ้อนโดยไม่จำเป็นและหลายอย่างไม่มีผลกำไร บางรายเลี้ยงแบบสวนสัตว์ควรวิเคราะห์แยกแยะลดกิจกรรมที่ไม่มีกำไรลงบ้าง
9. ความเชื่อมักเป็นจุดอ่อน : การเปลี่ยนแปลงแนวคิดวิธีบริหารจัดการฟาร์มเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่ความเชื่อคือข้อจำกัดที่หลายคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ขอขอบคุณ / คุณชยุต ดงปาลีธรรม์
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.grass-fed-solutions.com/beef-cattle-farming.html