เวรกรรมหายนะ!! สาหัสกว่าที่คิด ขบวนการค้าหมูเถื่อน ผิดพลาดข้อกฎหมายศุลกากร ที่ต้องรับโทษแม้ไม่เจตนา ลักษณะเดียวกับการรับซื้อของโจร
20 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้เลี้ยงสุกรภาคกลาง – กระบวนการหมูเถื่อน อาจทำให้ห้างค้าส่งค้าปลีกที่ร่วมขบวนการถึงขั้นล้มละลาย กับการผิดพลาดข้อกฎหมายพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 252 ที่ต้องรับโทษ แม้ไม่เจตนา มาตรา 245 ผู้สนับสนุนต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในการกระทำความผิดนั้น สาหัสกว่าที่คิด ลักษณะเดียวกับการรับซื้อของโจร กับค่าปรับสูงสุด 4 เท่าของราคาสินค้าบวกอากรขาเข้าหมู 30%
จากการขยายผลของพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ กับ 2 ครั้งหลังสุด ในคดีพิเศษเลขที่ 126/2566 ที่มีการให้รายละเอียดเส้นทางของหมูเถื่อนจำนวน 15 ตู้แรก จากทั้งหมด 2,388 ตู้ ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2567 ที่เริ่มจาก บริษัทผู้นำเข้า บริษัทชิปปิ้ง โรงเชือด จนถึงศูนย์กระจายสินค้าวังน้อยของห้างค้าส่ง ค้าปลีกรายหนึ่ง ซึ่งมีการขยายผลอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 กับศูนย์กระจายสินค้าที่มหาชัย ของห้างค้าส่ง ค้าปลีกรายเดิม
พันตำรวจตรีณฐพล ดิษยธรรม ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีดังกล่าว ได้เคยให้สัมภาษณ์ถึงข้อกฎหมายของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 252 ที่บัญญัติไว้ถึงการกระทำความผิดในฐานะผู้ให้การสนับสนุนต้องรับโทษ เช่นกัน แม้กระทำการโดยไม่เจตนา โดยพิธีกรรายการข่าวหนึ่งที่เป็นผู้สัมภาษณ์ ได้มีการออกข่าวในรายการในวันถัดมา ในลักษณะที่พยายามตัดตอนมาตรา 252 โดยย้ำว่าห้างค้าส่งค้าปลีกดังกล่าวซื้อโดยมีเอกสารประกอบถูกต้อง และไม่ทราบว่าสินค้าสุกรดังกล่าวมีการกระทำความผิด โดยการลักลอบนำเข้าอย่างไม่ถูกกฎหมาย
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 พิธีกรรายการข่าวเดิม ได้มีการออกข่าวในรายการ ในลักษณะที่พยายามตัดตอนมาตรา 252 โดยย้ำว่าห้างค้าส่งค้าปลีกดังกล่าวซื้อโดยมีเอกสารประกอบถูกต้อง
ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศที่ติดตามข่าวการทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยเฉพาะทีมขยายผลหมูเถื่อนดังกล่าว เชื่อมั่นในการทำคดีดังกล่าวว่ามีความยุติธรรมและตรงไปตรงมา
สำหรับข้อกฎหมายของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีหมูเถื่อนดังกล่าว พร้อมบทลงโทษ ประกอบไปด้วย
จากการประเมินลักษณะการกระทำความผิด ที่ผู้สนับสนุนต้องร่วมรับโทษด้วย ทั้งจากคดีพิเศษ 126/2566 (หมูสำแดงเท็จเลี่ยงอากร 30%) และ 127/2566(หมูฟอกขาวผ่านเขตปลอดอากร เลี่ยงอากร 30%) จะมีค่าปรับที่สูงมาก ทำให้สามารถประเมินโทษปรับสูงสุดอิงตามจำนวนตู้คอนเทรนเนอร์ และมาตราที่เข้าองค์ประกอบความผิด และบทกำหนดโทษชัดเจน ณ ที่นี้จะประเมินเฉพาะโทษปรับอิงเฉพาะอากร/ค่าสินค้า ดังนี้
การทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษมีความคืบหน้ามาโดยลำดับ หลังจากขยายผล 15 ตู้แรก จากเลขคดีพิเศษ 126/2566 จากจำนวนทั้งหมด 2,388 ตู้ โดยมีการเปิดเผยรายชื่อตั้งแต่ บริษัทผู้นำเข้า บริษัทชิปปิ้ง โรงเชือดฟอกขาว จนถึงการเคลื่อนย้ายสู่ศูนย์กระจายสินค้าของห้างดังแห่งหนึ่ง
แน่นอนว่าทั้ง 4 บริษัทจะต้องมีการออกเลขคดีพิเศษขึ้นมาอีกในไม่ช้านี้ เพราะเชื่อว่าจำนวนตู้ที่เหลือก็จะมีการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้น
สำหรับเลขคดีพิเศษที่ 127/2566 กรมสอบสวนคดีพิเศษ เคยประเมินจำนวนตู้ในช่วง 2564-2566 ไว้ที่จำนวนประมาณ 10,000 ตู้ ซึ่งจะต้องมีการขยายผลในลักษณะเดียวกับเลขคดีพิเศษ 126/2566 ที่เริ่มต้นจากจำนวน 2,388 ตู้
แต่ลักษณะความผิดของการใช้เขตปลอดอากรของเลขคดีพิเศษที่ 127/2566 จะมีการกระทำความผิดตามมาตรา 243 ซึ่งมีบทลงโทษสูงมาก คือ 4 เท่าของราคาสินค้า + อากรขาเข้า
โดยจำนวน 10,000 ตู้ ที่เป็นยอดสะสมตั้งแต่ปี 2564–2566 มีการตรวจพบบัญชีรายชื่อลูกค้าในขบวนการค้าหมูเถื่อน จำนวนประมาณ 100 รายแล้ว ซึ่งทำให้โอกาสที่จะหลุดรอดจากการรับโทษดังกล่าวค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ในขณะที่รายละเอียดของจำนวน 10,000 ตู้ ก็จะเป็นข้อมูลเริ่มต้นในการขยายผลของคดี เช่นกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศที่จะต้องไม่ให้คดีดังกล่าวเงียบหายไป